Latest information

ภาษีโทบิน โทบินแท็กซ์

Tobin tax (โทบินแท็กซ์)







http://www.new-rules.org/storage/documents/other/debatingthetobintax.pdf


http://en.wikipedia.org/wiki/Tobin_tax
พอเกิดเหตุ "ธันวาฯ ทมิฬ" ที่ตลาดหุ้น เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม คนวงในก็ฟันธงลงไปทันทีว่ามาตรการ "เงินสำรอง 30%" สำหรับเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เป็นต้นเหตุแห่งวิกฤติครั้งนี้ มีที่มาจากคนชื่อ James Tobin นักเศรษฐศาสตร์มะกันเจ้าของรางวัลโนเบลปี 1981 ที่เสนอให้เก็บภาษีเงินทุนต่างชาติเข้าออกประเทศ เพื่อสกัด "เงินร้อน" อันไม่พึงประสงค์ กลายเป็น "Tobin tax" ที่อื้อฉาวเกรียวกราว เป็นประเด็นถกเถียงกันในมวลหมู่นักเศรษฐศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ และนักการเมืองอย่างร้อนแรงมาแล้ว แม้แกจะเสียชีวิตไปเมื่อ 4 ปีก่อนแล้วก็ตาม และแนวคิด Tobin tax นี่แหละ ที่สร้างความโกลาหลครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 19 ธันวาคมให้กับประเทศไทยนี่เอง "ภาษีโทบิน" ที่ว่านี้รัฐบาลชิลี ประกาศใช้เมื่อปี 1991 หรือเมื่อ 15 ปีก่อน เรียกตามชื่อนักเศรษฐศาสตร์คนดังคนนี้ ที่เสนอภาษีพิเศษนี้เพื่อสกัดการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศระยะสั้นไม่ให้นักเก็งกำไรเงินใช้เงินทุนจากต่างประเทศ เพื่อการปั่นเงินให้เจ้าของบ้านต้องเดือดร้อน จะว่าไปแล้ว "ภาษีโทบิน" นั้น ตอนใช้ใหม่ๆ ก็ได้ผลในระยะแรก คือทำให้เกิด"ความนิ่ง" ในระบบเศรษฐกิจของชิลี ในระยะนั้นพอสมควร แต่ก็มิอาจจะถือเป็นมาตรการมั่นคงยืนยาวได้ ระหว่างปี 1991 ถึง 1998 ที่ภาษีนี้ใช้อยู่นั้น อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของชิลี เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 8 และนั่นคือ อัตราการโตที่สูงสุดของละตินอเมริกาในขณะนั้น เพราะไม่ว่าอะไรที่มีผลดีย่อมจะต้องมีผลเสียตามมา เพราะไม่มีใครสามารถจะ "กินอาหารเที่ยงฟรี" ได้ตลอด...แปลว่าไม่ว่ามาตรการเช่นนั้นจะดูดี และน่าทึ่ง แต่ก็หนีไม่พ้นว่ารัฐบาลชิลี จะต้อง "มีค่าใช้จ่าย" สำหรับการใช้นโยบายที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างนั้น ผลทางลบก็คือเมื่อมีการควบคุมเงินไหลเข้าออกประเทศแล้ว บริษัทเล็กๆ ในประเทศก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้กับทุนที่หามาบริหารธุรกิจของตัวเองแพงขึ้นถึงร้อยละ 21 เปอร์เซ็นต์ หากคิดคำนวณเป็นเงินสกุลดอลลาร์ แน่นอนว่า การเก็บภาษีเงินไหลเข้าออกอย่างนี้ ย่อมเป็นการปิดกั้นการพัฒนาตลาดหุ้นของประเทศนั้นเอง และเมื่อไม่มีใครสามารถจะปิดประตูทุกประตูในโลกโลกาภิวัตน์ได้ สิ่งที่ตามมาก็คือความพยายามของบริษัทในชิลี ในอันที่จะแสวงหาเงินทุนจากตลาดอื่น หรือเครื่องมือการเงินการทองอย่างอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการต้องจ่ายภาษีโทบินที่ว่านี้ เมื่อปี 1978 ศาสตราจารย์ James Tobin เสนอให้มีการเก็บภาษีทุกครั้ง ที่มีการทำธุรกรรมในอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนในโลกก็ตาม เหตุผลของโทบิน ก็คือว่าการเก็บภาษีอย่างนี้ จะลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และจะทำให้ภาพของเศรษฐกิจมหภาค หรือ macro-economics ดีขึ้น เหตุผลข้อสองที่เสนอให้เก็บภาษีประเภทนี้ ก็คือว่าจะทำให้มีรายได้จำนวนไม่น้อยที่จะนำไปสนับสนุนความพยายามที่จะพัฒนาระหว่างประเทศ สูตรการเก็บภาษีของโทบินนั้น ค่อนข้างจะเข้มข้น นั่นคือต้องจ่ายภาษีสองหน โดยหนแรกเก็บเมื่อคุณซื้อเงินสกุลอื่น และต้องเสียภาษีอีกครั้ง เมื่อคุณขายเงินสกุลที่ซื้อมานั้น ที่เก็บภาษีสองต่อก็เพราะมีจุดมุ่งหมายที่จะสกัดกั้นการไหลเข้าออกของเงินทุนระยะสั้นอย่างไม่ต้องสงสัย การควบคุมเงินไหลเข้าออกประเทศมีอีกวิธีหนึ่ง นั่นคือการกำหนดให้ต้องสำรองเงินส่วนหนึ่งที่เรียกว่า reserve requirements อย่างที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม (ตอนแรกสำหรับเงินไหลเข้ามาทุกประเภท วันรุ่งขึ้นก็ยกเลิกมาตรการนี้สำหรับเงินที่เข้ามาในตลาดหุ้น) สูตรของ reserve requirements นั้น มีเป้าหมายคือการสกัดเงินทุนไหลเข้า โดยในทางปฏิบัตินั้นธนาคารกลางกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินที่ไหลเข้าในสกุลต่างประเทศจำนวนหนึ่งโดยไม่ได้ดอกเบี้ย (ในกรณีของไทยครั้งนี้คือ 30 เปอร์เซ็นต์) คนที่เห็นด้วยกับวิธีการเช่นนี้บอกว่า การกำหนดให้ต้องมีการสำรองเงินบางส่วนสำหรับเงินทุนไหลเข้านั้นมีผลในการทำให้ "เงินร้อน" หรือ hot money ไม่เข้าประเทศชิลีในช่วงที่ใช้มาตรการนี้ โดยไม่กระทบต่อการลงทุนระยะยาว แต่คนที่คัดค้านวิธีการนี้บอกว่าเป็นการส่งสัญญาณผิดต่อนักลงทุนต่างประเทศ เพราะจะทำให้เกิดความแตกตื่นขึ้นมาในหมู่นักลงทุนต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นตลาดทุนหรือตลาดตราสารหนี้หรือแม้เงินลงทุนต่างประเทศทางตรง เพราะรัฐบาลที่ใช้วิธีการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศ ย่อมจะมี "เจตนาอะไรที่ไม่โปร่งใส" ซ่อนเร้นอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น