Latest information

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการลงทุน















http://en.wikipedia.org/wiki/Credit_rating_agency
ปัจจัยบ่งชี้การลงทุนในโลกปัจจุบัน Credit Rating Agency หรือ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่หลายประเทศได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากวิกฤติการณ์ค่าเงินเอเชีย การเปลี่ยนแปลงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ สถาบันการเงิน หรือกิจการในประเทศใดนั้นล้วนส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ปัจจุบันสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่สถาบันที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางได้แก่ Fitch IBCA, Moody's Investor Service, The Economist Intelligence Unit (EIU), Thomson Bank Watch และ Standard & Poor (S&P) เป็นต้น ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือแต่ละสถาบันจะใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันที่สำคัญ ได้แก่ การจัดการและผลการดำเนินงาน (Management and mance) ในระดับธุรกิจพิจารณาจากผลกำไรหรือขาดทุนของกิจการ ความสามารถในการชำระคืนหนี้เงินกู้ โครงสร้างในการบริหารงาน การจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณ การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร การแก้ไขปัญหาของธุรกิจในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ ที่มีผลต่อผลประกอบการของกิจการ ในระดับประเทศพิจารณาจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ ฐานะทางการคลัง ความมีเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ตลอดจนภาวะการค้า การลงทุน และปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ขนาด (Size) ในระดับธุรกิจพิจารณาจากขนาดของเงินทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม แรงงาน และการจ้างงาน ซึ่งแสดงถึงความมั่นคงของธุรกิจ โดยกิจการที่มีเงินทุนขนาดใหญ่มักอยู่รอดได้ในสภาวะวิกฤติมากกว่ากิจการขนาดกลางและเล็ก แม้ว่าสมมติฐานนี้จะไม่เป็นจริงเสมอไปก็ตาม ส่วนในระดับประเทศจะพิจารณาที่ขนาดของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งในระดับประเทศจะพิจารณาที่ขนาดของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งใช้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติภายในประเทศ (Gross Domestic Products:GDP) เป็นตัววัด ฐานะทางการเงิน (Financial Status) ในระดับธุรกิจพิจารณาจากการหมุนเวียนของกระแสเงินสด โครงสร้างของสินทรัพย์และหนี้สิน เงินสดและทุนสำรอง ข้อมูลที่แสดงในงบการเงินของบริษัท การตรวจสอบฐานะทางการเงินเพื่อนำมาใช้ประกอบการจัดอันดับความน่าเชื่อถือและช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากข้อมูลที่ได้ผ่านการรับรองตามหลักมาตรฐานสากลแล้ว สำหรับในระดับประเทศจะพิจารณาจากสภาพคล่องภายในประเทศ ความเข้มแข็งของระบบการเงินการธนาคาร เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ภาระหนี้ต่างประเทศและการพึ่งพาการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ ทั้งที่อยู่ในรูปของการซื้อขายหลักทรัพย์และการลงทุนโดยตรง ความเสี่ยงภายนอก (External Risk) ในระดับธุรกิจพิจารณาจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ตลอดจนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองทั้งในและต่างประเทศ ความมีประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการดำเนินงานของคณะรัฐบาลและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์รุนแรงหรือสงครามอันเป็นปัจจัยที่ยากต่อการควบคุม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการเมืองของกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และประเทศอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวพันกันทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ทั้งนี้ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการตัดสินใจในด้านต่างๆ ของประเทศผู้ให้กู้ อาทิ การกำหนดจำนวนเงินที่จะให้กู้และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การต่ออายุสัญญาเงินกู้ การตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ในภาวะเศรษฐกิจที่หลายประเทศเผชิญกับวิกฤติการณ์ทางการเงิน ทำให้การหาเงินกู้จากต่างประเทศทำได้ยากขึ้น ประเทศต่างๆจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับอันดับความน่าเชื่อถือของตนในสายตาของสถาบันการเงินและนักลงทุนต่างประเทศ แม้ว่าอันดับความน่าเชื่อถือจะมิได้สะท้อนให้เห็นภาพที่แท้จริงอย่างถูกต้องเสมอไปเนื่องจากปัจจัยที่ใช้ในการจัดอันดับและมุมมองของนักวิเคราะห์ในแต่ละสถาบันมีความแตกต่างกัน แต่อันดับความน่าเชื่อถือที่สถาบันที่มีชื่อเสียงข้างต้นจัดอันดับให้แต่ละประเทศและแต่ละองค์กรธุรกิจก็มีความสำคัญต่อการจัดหาเงินกู้และระดมทุนจากต่างประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะประเทศผู้ให้กู้และนักลงทุนต่างประเทศจะพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือที่สถาบันจัดอันดับเหล่านี้ศึกษาไว้เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการพิจารณาปล่อยกู้หรือลงทุนในประเทศต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น