สนธิสัญญาสฟาลบาร์
สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสปิตส์เบอร์เกน หรือ สนธิสัญญาสฟาลบาร์ มีการลงนามเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 ซึ่งรับรองอธิปไตยของนอร์เวย์เหนือหมู่เกาะสปิตส์เบอร์เกน (ปัจจุบัน คือ สฟาลบาร์) โดยสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ อธิปไตยนี้ยังมีเงื่อนไขบางประการและไม่ใช่กฎหมายนอร์เวย์ทั้งหมดที่มีผลบังคับใช้เหนือสฟาลบาร์ สนธิสัญญาดังกล่าวเพียงกำหนดให้สฟาลบาร์เป็นเขตปลอดทหารบางส่วน ประเทศผู้ลงนามทั้งหมดได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์ (ส่วนใหญ่เป็นการทำเหมืองถ่านหิน) ในหมู่เกาะดังกล่าว เดิมมีประเทศอัครภาคีผู้ทำสัญญาจำนวนเก้าประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และสหราชอาณาจักร (รวมไปถึง เครือจักรภพโพ้นทะเล ไอร์แลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย อินเดีย แอฟริกาใต้ และนิวซีแลนด์) นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเทศที่ลงนามภายในห้าปีก่อนที่สนธิสัญญาดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ รวมทั้งสหภาพโซเวียต ใน ค.ศ. 1924 และเยอรมนีกับจีน ใน ค.ศ. 1925 ปัจจุบัน มีประเทศผู้ลงนามมากกว่า 40 ประเทศ สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการเสนอให้ได้รับการลงทะเบียนในประมวลสนธิสัญญาสันนิบาตชาติ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1920[1] ในกลุ่มประเทศผู้ลงนาม ญี่ปุ่นเป็นประเทศสุดท้ายที่ให้สัตยาบันสนธิสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1925 ต่อมา วันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1925 สนธิสัญญาดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้[2] นอร์เวย์ได้ใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองและออกมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมออกมาเป็นจำนวนมากในทันที
สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสปิตส์เบอร์เกน หรือ สนธิสัญญาสฟาลบาร์ มีการลงนามเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 ซึ่งรับรองอธิปไตยของนอร์เวย์เหนือหมู่เกาะสปิตส์เบอร์เกน (ปัจจุบัน คือ สฟาลบาร์) โดยสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ อธิปไตยนี้ยังมีเงื่อนไขบางประการและไม่ใช่กฎหมายนอร์เวย์ทั้งหมดที่มีผลบังคับใช้เหนือสฟาลบาร์ สนธิสัญญาดังกล่าวเพียงกำหนดให้สฟาลบาร์เป็นเขตปลอดทหารบางส่วน ประเทศผู้ลงนามทั้งหมดได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์ (ส่วนใหญ่เป็นการทำเหมืองถ่านหิน) ในหมู่เกาะดังกล่าว เดิมมีประเทศอัครภาคีผู้ทำสัญญาจำนวนเก้าประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และสหราชอาณาจักร (รวมไปถึง เครือจักรภพโพ้นทะเล ไอร์แลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย อินเดีย แอฟริกาใต้ และนิวซีแลนด์) นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเทศที่ลงนามภายในห้าปีก่อนที่สนธิสัญญาดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ รวมทั้งสหภาพโซเวียต ใน ค.ศ. 1924 และเยอรมนีกับจีน ใน ค.ศ. 1925 ปัจจุบัน มีประเทศผู้ลงนามมากกว่า 40 ประเทศ สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการเสนอให้ได้รับการลงทะเบียนในประมวลสนธิสัญญาสันนิบาตชาติ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1920[1] ในกลุ่มประเทศผู้ลงนาม ญี่ปุ่นเป็นประเทศสุดท้ายที่ให้สัตยาบันสนธิสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1925 ต่อมา วันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1925 สนธิสัญญาดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้[2] นอร์เวย์ได้ใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองและออกมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมออกมาเป็นจำนวนมากในทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น