Latest information

ประวัติศาสตร์สิ่งเสพติด

ประวัติศาสตร์สิ่งเสพติด



http://darkpolitics.wordpress.com/cia-involvement-in-drug-smuggling-part-1/




http://en.wikipedia.org/wiki/Ya_ba
สามเหลี่ยมทองคำ (อังกฤษ: Golden Triangle) หมายถึงพื้นที่รอยต่อระหว่างสามประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย (จังหวัดเชียงราย) ลาว (แขวงบ่อแก้ว) และพม่า (แขวงท่าขี้เหล็ก, รัฐฉาน) มีลักษณะเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมบรรจบกัน โดยมีแม่น้ำโขงตัดผ่านชายแดนไทยและลาว นับเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค นอกจากนี้สามเหลี่ยมทองคำยังมีทิวทัศน์ที่งดงามโดยเฉพาะยามเช้า ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก เดิมสามเหลี่ยมทองคำเป็นที่รู้จัก ในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวรอยต่อระหว่างประเทศ แต่ในปัจจุบันมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจมากขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย สามเหลี่ยมทองคำในส่วนของประเทศไทย อยู่ในเขตบ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีท่าเรือขนาดเล็กขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีน และลาว เมื่อมองจากฝั่งไทยไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ จะเห็นหมู่บ้านในฝั่งลาวอย่างชัดเจน ส่วนทางพม่าซึ่งอยู่ด้านตะวันตกนั้น ไม่มีหมู่บ้านหรือสิ่งก่อสร้างให้เห็นในระยะใกล้ๆ บริเวณดังกล่าวยังเป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวก ที่เรียกว่า สบรวก บริเวณนี้มีเคยมีชนกลุ่มน้อย และกองกำลังติดอาวุธอยู่หลายกลุ่ม พื้นที่ในแถบนี้เคยเป็นแหล่งปลูกฝิ่นและผลิตยาเสพติดแหล่งใหญ่ เช่น มีโรงงานผลิตเฮโรอีนและกระจายอยู่ตามชายแดน ส่วนการลำเลียงฝิ่นจะไปเป็นขบวนลัดเลาะไปตามไหล่เขาพร้อมกำลังคุ้มกัน ว่ากันว่ายาเสพติดและฝิ่นจะถูกแลกเปลี่ยนด้วยทองคำในน้ำหนักที่เท่ากัน จึงเป็นที่มาของชื่อ สามเหลี่ยมทองคำ นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปยังสามเหลี่ยมทองคำในช่วงฤดูหนาว และไปถ่ายรูปกับป้าย "สามเหลี่ยมทองคำ" ที่ติดตั้งไว้ริมฝั่งแม่น้ำโขงด้วย นอกจากนี้ยังนิยมนั่งเรือเที่ยวชมทิวทัศน์จุดบรรจบของพรมแดนไทย ลาว และพม่า ค่าเช่าเรือประมาณ 300-400 บาท (นั่งได้ 6 คน) นอกจากนี้ยังสามารถล่องแม่น้ำโขงไปเที่ยวทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่น สิบสองปันนา คุนหมิง ได้อีกด้วย แต่หากต้องการจะชมทิวทัศน์มุมกว้าง ของสามเหลี่ยมทองคำบริเวณสบรวกและเพื่อนบ้าน ต้องขึ้นไปบนดอยเชียงเมี่ยง ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง 1.ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมา บาร์บิทูเรต ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาวเป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย 2.ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี กระท่อม โคเคน เครื่องดื่มคาเฟอีน มักพบว่าผู้เสพติด จะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น 3.ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย ดี.เอ็ม.ที.และ ยาเค เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต 4.ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้แก่ กัญชา จำแนกตามแหล่งที่มา 1.จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา ฯลฯ 2.จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี ฯลฯ จำแนกตามกฎหมาย 1.พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน LSD ยาอี ฯลฯ 2.พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท พ.ศ. 2518 เช่น อีเฟดรีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น