Latest information

สงครามแปซิฟิก วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา คณะรัฐมนตรี ฮิเดะกิ โทโจ

  
  สงครามโลกครั้งที่สอง
   กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น  





 ฮิเดะกิ โทโจ









 

ทะกะโอะ ไซโต้ 
Saitō Takao 



ข้อมูลเกี่ยวกับ ทะกะโอะ ไซโต้  

http://ja.wikipedia.org/wiki/%E6%96%8E%E8%97%A4%E9%9A%86%E5%A4%AB




ฮาราคีรี โมนโด  

http://ja.wikipedia.org/wiki/%E8%85%B9%E5%88%87%E3%82%8A%E5%95%8F%E7%AD%94



Army purge speech 
http://ja.wikipedia.org/wiki/%E7%B2%9B%E8%BB%8D%E6%BC%94%E8%AA%AC  

Antimilitary speech
http://ja.wikipedia.org/wiki/%E5%8F%8D%E8%BB%8D%E6%BC%94%E8%AA%AC  

Saitō Takao - Anti Military Speech 
Saitō Takao (September 13, 1870 - October 7, 1949) http://teochiewkia.blogspot.jp/2011/08/saito-takao-anti-military-speech.html  

Anti-military Speech
http://www.ndl.go.jp/modern/e/cha4/description10.html 




กรณีมุกเดน 

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%99
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า "สงครามแปซิฟิก" และดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียในศริสต์ศวรรษที่ 20 ย้อนกลับไปใน พ.ศ. 2474 ญี่ปุ่นได้เข้ารุกรานแมนจูเรีย ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่ากรณีมุกเดน ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนจีนแผ่นดินใหญ่ได้ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล อันเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของสงครามครั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นสงครามจนถึง พ.ศ. 2484 จีนต้องต่อสู้กับญี่ปุ่นโดยลำพัง กระทั่งญี่ปุ่นได้โจมตีฐานทัพเรือสหรัฐที่เพิร์ลฮาเบอร์ อันเป็นเหตุให้สหรัฐอเมริกาต้องเข้าร่วมสงคราม ทำให้สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่สองขยายวงกว้างเป็นสงครามโลกครั้งที่สองในที่สุด ความเป็นมาของสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สามารถมองย้อนหลังกลับไปเมื่อครั้ง สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2438 ซึ่งประเทศจีนในสมัยนั้น ปกครองโดยจักรพรรดิราชวงศ์ชิง พ่ายแพ้สงครามแก่ประเทศญี่ปุ่น จึงจำต้องทำสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ ซึ่งมีผลบังคับให้จีนต้องยกดินแดนเผิงหูและคาบสมุทรเหลียวตงให้แก่ญี่ปุ่น และต้องรับรองเอกราชแก่เกาหลี จากเหตุการณ์นี้ทำให้ราชวงศ์ชิงต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตกต่ำอย่างยิ่ง ทั้งจากเหตุการณ์จลาจลภายในประเทศ และภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยมภายนอกประเทศ ขณะเดียวกันในประเทศญี่ปุ่นสามารถรวบรวมอำนาจภายในประเทศให้เป็นปึกแผ่น อันเป็นผลทำให้ญี่ปุ่นสามารถปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ กระทั่งมีการสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นในปี พ.ศ. 2455 หลังจากเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่ อันเป็นการล้มล้างราชวงศ์ชิง อย่างไรก็ตามสาธารณรัฐใหม่ก็ยังคงมีความอ่อนแอกว่าสมัยก่อน ทั้งปัญหาการแย่งชิงอำนาจของขุนศึกท้องถิ่นผู้มีอำนาจ ทำให้การพยายามที่จะรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น การขับไล่ลัทธิจักรจรรดินิยมออกไปจากจีนเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ทำให้ขุนศึกบางคนต้องใช้นโยบายใกล้ชิดกับต่างชาติ ตัวอย่างเช่น ขุนศึก จาง จัวหลิน แห่งแมนจูเรีย ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่น ในเรื่องความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และทางทหาร ในปี พ.ศ. 2458 ญี่ปุ่นได้ประกาศความต้องการ 21 ประการ ในการรีดบังคับทั้งในเรื่องการเมืองและสิทธิประโยชน์ทางการค้าจากจีน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ญี่ปุ่นได้เข้ายึดดินแดนเขตอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันในเขตมณฑลชานตง ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นในแผ่นดินจีน แต่กระนั้นรัฐบาลจีนในขณะนั้น ยังคงแตกความร่วมมือกันอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถต้านทานการบุกรุกล้ำดินแดนของญี่ปุ่นได้ เพื่อเป็นการรวบรวมจีนและกำจัดเหล่าขุนศึกตามท้องถิ่นให้หมดสิ้นไป พรรคก๊กมินตั๋งซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองกวางโจว ได้ก่อตั้งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ออกเดินทางไกลขึ้นเหนือ ในปี พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2471 พรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ได้ปราบปรามขยายขอบเขตอิทธิพลกระทั่งประชิดดินแดนชานตง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของขุนนศึก จาง จงชาน ผู้ได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น กองทัพปฏิวัติแห่งชาติถูกต่อต้านอย่างหนักจากกองทัพของจาง จงชาน ที่เมืองจี๋หนาน ในปี พ.ศ. 2471 เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า“วิกฤตการณ์จี๋หนาน”สุดท้ายพรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติต้องล่าถอยออกมาจากจี๋หนาน ในปีเดียวกัน จาง จัวหลิน ถูกลอบสังหารหลังได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่นไม่นาน จากนั้นบุตรชายของเขา จาง เฉวเหลียง ได้เข้าครอบครองดินแดนแมนจูเรียต่อจากบิดาทันที ประกาศยกเลิกการขอรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น และประกาศยอมเข้าสวามิภักดิ์ต่อพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งในขณะนั้นนำโดย เจียง ไคเชก อันเป็นผลทำให้พรรคก๊กมินตั๋งสามารถรวบรวมดินแดนประเทศจีนได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2481 อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2473 ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลระหว่างขุนศึกผู้ที่เคยร่วมมือกับพรรคก๊กมินตั๋งในระหว่างการเดินทางไกลขึ้นเหนือ กับรัฐบาลกลางของเจียง ไคเช็ก ยกตัวอย่างเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ก่อการจลาจลต่อรัฐบาลกลาง ภายหลังเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ในปี พ.ศ. 2470 ดังนั้นรัฐบาลกลาง จึงได้พยายามเบี่ยงเบนความสนใจในเรื่องความไม่สงบภายในประเทศ โดยได้ประกาศ “นโยบายสงบภายในก่อนที่จะต้านทานภายนอก” กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น หรือ กองทัพแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ กองทัพบกมหาจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นกองทัพบกของจักรวรรดิญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1871 จนถึง ค.ศ. 1945 เมื่อถูกยุบตามรัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่นที่จะสละการใช้กองกำลังเป็นวิธีของการยุติข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ กองกำลังป้องกันตนเองทางบกแห่งญี่ปุ่น จึงได้มีการจัดตั้งหลังจากการสลายของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นได้แสดงแสนยานุภาพในสงครามต่างๆ เช่น กบฏนักมวยและสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น จนประเทศตะวันตกต่างก็เกรงใจยอมยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยกองทัพบกได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังพิเศษทางอากาศกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นสำหรับอากาศยานและปฏิบัติการโจมตีทางอากาศจากฐานทัพบนบก กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นคู่ต่อสู้หลักของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น