Latest information

โรคอัลไซเมอร์ แอมีลอยด์ บีตา การนอนไม่หลับ

แอมีลอยด์ บีตา 

แอมีลอยด์ บีตา เป็นสายเพปไทด์ขนาด 39–43 กรดอะมิโนซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของคราบแอมีลอยด์ พลาก ในสมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ พลากดังกล่าวยังพบได้ในโรคสมองเสื่อมบางชนิดเช่น Lewy body dementia บางชนิด และโรคกล้ามเนื้ออักเสบเช่น inclusion body myositis แอมีลอยด์ บีตายังรวมกลุ่มคลุมรอบหลอดเลือดสมองในโรค cerebral amyloid angiopathy พลากหรือคราบดังกล่าวประกอบด้วยเส้นใยโปรตีนยุ่งเหยิงที่ลำดับการเรียงตัวปกติเรียกว่า เส้นใยแอมีลอยด์ ซึ่งเป็นการม้วนพับของโปรตีนที่ผิดปกติเช่นเดียวกับในเพปไทด์อื่นๆ เช่นพรีออน ยูทูบเกี่ยวกับ แอมีลอยด์ บีตา โรคอัลไซเมอร์





 


 


ยูทูบเกี่ยวกับ แอมีลอยด์ บีตา โรคอัลไซเมอร์  





แอมีลอยด์ บีตา (Amyloid beta)  - PMC - NCBI 
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/?term=Amyloid+beta 


http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/?term=Amyloid+beta






ข้อมูลเกี่ยวกับ แอมีลอยด์ บีตา (Amyloid beta)  

http://en.wikipedia.org/wiki/Amyloid_beta



โรคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ และถูกตั้งชื่อตามท่าน โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หายและจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี แต่ก็พบโรคอัลไซเมอร์ชนิดหนึ่งคือ โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว ซึ่งเกิดในคนอายุน้อยแต่มีความชุกของโรคน้อยกว่า ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2549 มีประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าใน พ.ศ. 2593 ถึงแม้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีอาการที่พบร่วมกันหลายประการ อาการแรกสุดที่พบคือความเครียด ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเองตามอายุ อาการที่พบในระยะแรกคือการสูญเสียความจำ เช่นพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้ เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์จะยืนยันการวินิจฉัยโดยการประเมินพฤติกรรมและทดสอบการรู้ และมักตามด้วยการสแกนสมอง เมื่อโรคดำเนินไประยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่ายและก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน เสียความสามารถทางภาษา สูญเสียความทรงจำระยะยาว และเพิกเฉยต่อสิ่งต่างๆ เนื่องจากผู้ป่วยเสียการรับความรู้สึก และต่อมาจะสูญเสียการทำงานต่างๆ ของร่างกาย และเสียชีวิตในที่สุด การพยากรณ์โรคในผู้ป่วยแต่ละรายนั้นทำได้ยากเนื่องจากระยะเวลาของโรคมีความหลากหลาย การดำเนินโรคของโรคนี้จะมีช่วงระยะเวลาที่ไม่แสดงอาการแน่ชัดก่อนจะปรากฏอาการชัดเจน การคาดหมายคงชีพหลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 7 ปี มีผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละ 3 ที่มีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 14 ปีหลังได้รับการวินิจฉัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น