Latest information

มหาวิทยาลัยราชภัฏ


รายชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย


    


มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
http://www.pnru.ac.th/index2.php 

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
http://www.kru.ac.th/  

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
http://www.web.ksu.ac.th/  

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
http://www.kpru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
http://www.chandra.ac.th/th/index_flash.php 

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
http://www.cpru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
http://www.crru.ac.th/2014/index.php 

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
http://www.cmru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
http://www.tru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
http://www.dru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
http://www.npru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
http://www.nrru.ac.th/website/index.php 

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
http://www.nstru.ac.th/nstru2011/special/sirindhorn_60/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
http://www.nsru.ac.th/index.aspx 

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
http://www.bsru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏบึงกาฬ 
http://bk.udru.ac.th/  

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
http://www.bru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
http://www.aru.ac.th/asean/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
http://www.psru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
http://www.pbru.ac.th/th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
http://www.pcru.ac.th/pcruv4/main2.php 

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
http://www.pkru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
http://www.rmu.ac.th/homepage/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
http://www.yru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
http://www.reru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
http://www.rru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
http://www.rbru.ac.th/rb/indexrbru.php 

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
http://www.lpru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
https://lru.ac.th/lrunew/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
http://www.vru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
http://www.sskru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
http://www.snru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
http://www.skru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
http://www.dusit.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
http://ssru.ac.th/index.php/th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
http://www.sru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
http://www.srru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
http://www.mcru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
http://www.udru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
http://www.uru.ac.th/ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
http://www.ubru.ac.th/ 



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%8F
มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครู หลังจากนั้น ได้รับพระราชทานนาม "ราชภัฏ" จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้เป็นชื่อประจำสถาบัน พร้อมทั้ง พระราชทาน พระราชลัญจกรเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย โดยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีอยู่ทั้งสิ้น 40 แห่ง ทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมีพัฒนามาจาก "โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์" โดยโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์แห่งแรกเปิดสอนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 ซึ่งตั้งขึ้นบริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง จังหวัดพระนคร (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร) หลังจากนั้น จึงได้ขยายไปตั้งอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเป็น "วิทยาลัยครู" ในเวลาต่อมา และในปี พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏ" และเมื่อปี พ.ศ. 2538 ได้มีพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ ยกฐานะวิทยาลัยครู ให้เป็น "สถาบันราชภัฏ" อย่างเป็นทางการ โดยให้สถาบันราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา ท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู จากนั้นได้มีการพระราชทานชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏ" เมื่อปี พ.ศ. 2545 และในปี พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏ" อย่างเป็นทางการ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ ดังเช่นปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม " ราชภัฏ " และตราประจำมหาวิทยาลัย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเกียรติยศสูงสุดแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร โดยนาม " ราชภัฏ หมายความว่า เป็นคนของพระราชา" ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ พิจารณาจากดวงตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลปัจจุบัน เพื่อกำหนดรูปแบบสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ และได้รับพระราชทานมาเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร ซึ่งมีรายละเอียดที่สมควร นำมากล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้คือ เป็นรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ให้กำเนิดสถาบัน เป็นรูปแบบที่เป็นกลาง เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นที่ตั้ง ธรรมชาติ และความสอดคล้องกับชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ได้รับพระราชทาน สีของตราประจำมหาวิทยาลัย มี 5 สี โดยมีความหมาย ดังนี้ สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม มหาวิทยาลัยราชภัฏ สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น