Latest information

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

ข่าวของทุกประเทศเกี่ยวกับรัฐประหารประเทศไทย





ข่าวโทรทัศน์ฝรั่งเศส/สหรัฐอเมริกา/สวีเดน/ประเทศอื่น ๆในกลุ่มประเทศนอร์ดิก
 ข่าวโทรทัศน์ในไต้หวัน/สิงคโปร์/ประเทศจีนและอื่น ๆ
 
ข่าวโทรทัศน์ในประเทศรัสเซีย/เวียดนาม

ข่าวโทรทัศน์ในอิตัล/อินโดนีเซีย/มาเลเซีย/อาหรับ

ข่าวโทรทัศน์ในลาตินอเมริกา(อาร์เจนตินา/บราซิล/ชิลี/โคลอมเบีย/คอสตาริกา/คิวบา/สาธารณรัฐโดมินิกัน/เอกวาดอร์/เอลซัลวาดอร์/เม็กซิโก)

ข่าวโทรทัศน์ใน

 ข่าวโทรทัศน์ในประเทศญี่ปุ่น

ข่าวโทรทัศน์ในประเทศญี่ปุ่น
  
ข่าวโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ
 
ข่าวโทรทัศน์ในฟิลิปปินส์และประเทศอื่น ๆ
 



ปฏิกิริยาต่างประเทศ

กฎอัยการศึก

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แถลงว่ารับทราบการประกาศกฎอัยการศึกในไทยแล้ว พร้อมทั้งกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่ยังมีความกังวลอย่างยิ่ง ต่อวิกฤตการเมืองไทยซึ่งถลำลึกยิ่งขึ้น และเรียกร้องทุกฝ่าย เคารพหลักการประชาธิปไตย รวมถึงเคารพเสรีภาพในการสื่อสาร สหรัฐอเมริกามีความเข้าใจว่า กองทัพบกประกาศว่าไม่ใช่รัฐประหาร และตั้งความหวังว่ากองทัพบกจะยึดมั่นว่าเป็นเรื่องชั่วคราว เพื่อป้องกันเหตุรุนแรง และไม่บ่อนทำลายสถาบันประชาธิปไตย โดยทุกฝ่ายต้องร่วมกัน แก้ไขความขัดแย้งด้วยการเจรจา เพื่อแสวงหนทางเดินหน้าต่อไป และตอกย้ำให้เห็นความจำเป็นของการเลือกตั้ง ซึ่งจะชี้วัดความปรารถนาของประชาชนไทย

ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่น แสดงความวิตกกังวลอย่างมาก และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายอดกลั้น ไม่ใช้ความรุนแรง เช่นเดียวกับนักลงทุนญี่ปุ่นในไทย ที่แสดงความวิตกกังวลอย่างมาก โดยเฉพาะบริษัทผลิตรถยนต์ ทั้งฮอนดา, โตโยตา และนิสสัน สหภาพยุโรปเรียกร้องให้เกิดการเลือกตั้งในประเทศไทย เพื่อให้มีรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน เพื่อผลประโยชน์ของไทยเอง รวมทั้งขอให้กองทัพ เคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพสื่อมวลชน

รัฐประหาร

สหภาพยุโรป – โฆษกสหภาพยุโรปออกแถลงการณ์ “เราเฝ้าติดตามการพัฒนาในประเทศไทยด้วยความวิตกอย่างยิ่ง กองทัพต้องยอมรับและเคารพอำนาจของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ อันเป็นหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย...เราเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยับยั้งชั่งใจ และทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ของประเทศ”

สหประชาชาติ – 

พัน กี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ออกแถลงผ่านโฆษกแสดงความกังวลเกี่ยวกับรัฐประหารดังกล่าว โดยเรียกร้องให้ "กลับคืนสู่การปกครองตามรัฐธรรมนูญ โดยพลเรือน เป็นประชาธิปไตยโดยเร็ว" และความเคลื่อนไหวสู่ความร่วมมือระหว่างทุกฝ่าย
เนวี พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประณามรัฐประหาร เธอกล่าวว่าสำนักงานของเธอเฝ้าติดตามสถานการณ์ในห้าเดือนที่ผ่านมา และเธอ "กังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับการแทนที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การกำหนดกฎอัยการศึก การระงับรัฐธรรมนูญและมาตรการฉุกเฉินซึ่งจำกัดความสำราญแห่งสิทธิมนุษยชนด้วยกำลัง" เธอยังกระตุ้นให้ฟื้นฟูหลักนิติธรรมในประเทศไทยโดยเร็ว

ภาครัฐ

กัมพูชา – ข้าราชการกัมพูชาแสดงความกังวลว่าอาจเกิดความตึงเครียดขึ้นที่ชายแดนกัมพูชา–ไทย โฆษกคณะรัฐมนตรี ปาย สิฟาน กล่าวว่า "เราปรารถนาเห็น[รัฐประหาร]นี้ไม่เป็นอันตรายต่อการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตย การรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ และยังเคารพ[และคุ้มครอง]เจตจำนงและผลประโยชน์ของชาวไทย" และเสริมว่าไม่คาดว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงที่ชายแดนกัมพูชา–ไทย สิฟานยังกล่าวว่า รัฐบาลกัมพูชาจะเคารพผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างสองประเทศเสมอ 
 จีน – กระทรวงการต่างประเทศออกแถลงการณ์สั้น ๆ แสดงความกังวลต่อสถานการณ์และหวังให้ความสงบเรียบร้อยกลับคืนสู่ประเทศไทย 
 ฝรั่งเศส – ฟรองซัวส์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสประณามรัฐประหารของไทย โดยสำนักเลขาธิการของออลลองด์ระบุว่า “ฝรั่งเศสเรียกร้องให้นำเอารัฐธรรมนูญกลับคืนมาเพื่อจัดการเลือกตั้ง และให้เคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนด้วย” 
 เยอรมนี – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี ฟรังค์-วัลแทร์ สไตน์ไมเออร์ ออกแถลงการณ์ประณามรัฐประหาร เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งและฟื้นฟูการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญโดยเร็ว
 ญี่ปุ่น – ฟุมิโอะ คิชิดะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศไทยโดยเร็ว 
 มาเลเซีย – กระทรวงการต่างประเทศแนะนำให้พลเมืองมาเลเซียหลีกเลี่ยงการเดินทางมาประเทศไทยในขณะนี้และเลื่อนการเยือนประเทศไทยที่ไม่จำเป็น ทั้งแนะนำให้พลเมืองมาเลเซียในประเทศไทยปฏิบัติตามการห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืนเพื่อความปลอดภัยส่วนบุคคลและเหตุผลด้านความมั่นคง ขณะเดียวกัน อดีตนายกรัฐมนตรี มหาเธร์ โมฮัมหมัด ออกความเห็นว่า รัฐประหารในประเทศไทยจะไม่กระทบต่อประเทศมาเลเซียในด้านการเมืองหรือเศรษฐกิจ 
 รัสเซีย – กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเรียกร้องให้หวนคืนสู่กระบวนการการเมืองและการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญโดยเร็ว 
 สิงคโปร์ – โฆษกกระทรวงต่างประเทศของสิงคโปร์แถลงด้วยความหวังว่าทุกฝ่ายจะอดกลั้นและร่วมมือกันเพื่อผลลัพธ์ที่เป็นบวก ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยืดเยื้อจะฉุดให้ไทยและชาติอาเซียนโดยรวมก้าวถอยหลัง และหวังว่าสถานการณ์จะกลับคืนสู่ปกติโดยเร็ว
 สหราชอาณาจักร – รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ วิลเลียม เฮก ออกแถลงการณ์กระตุ้นให้ "ฟื้นฟูรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อบริการประชาชนและบรรลุพันธกรณีสิทธิมนุษยชน"
 สหรัฐอเมริกา – กระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า กำลังทบทวนความช่วยเหลือแบบกองทัพต่อกองทัพ และการเกี่ยวพันกับประเทศไทย โดยอาจจะรวมถึงการซ้อมรบร่วมที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศไทย ซึ่งกองทัพสหรัฐส่งนาวิกโยธินและทหารเรือเข้าร่วมประมาณ 700 นาย สหรัฐอเมริการะงับเงินช่วยเหลือทางทหารแก่ประเทศไทยมูลค่า 3.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐจากเงินช่วยเหลือรวม 10.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และยกเลิกข้อผูกพันทางทหาร รวมทั้งการเยือนและการฝึกทหาร นอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทางและชะลอการเยือนของข้าราชการที่ไม่จำเป็น
 ผมผิดหวังต่อการตัดสินใจของทหารไทยที่ล้มรัฐธรรมนูญและเข้าควบคุมการปกครองภายหลังความวุ่นวายทางการเมืองที่ยาวนาน มันไม่มีเหตุผลที่ชอบธรรมสำหรับรัฐประหารในครั้งนี้ ผมยังกังวลเกียวกับรายงานที่ว่า ผู้นำของพรรคการเมืองหลัก ๆ ของไทยได้ถูกกักตัว และขอเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวพวกเขา และยังกังวลอีกในเรื่องที่ว่า ได้มีการระงับการแสดงออกของสื่อ ผมเรียกร้องขอให้มีการฟื้นฟูรัฐบาลพลเรือนและกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยในทันที ตลอดจนเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐาน อาทิ เสรีภาพของสื่อ เส้นทางข้างหน้าของประเทศไทยต้องมีการเลือกตั้ง ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของประชาชน

เราให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างเรากับชาวไทย การกระทำนี้จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ระหว่าง สหรัฐ-ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์กับทหารไทย เรากำลังทบทวนความช่วยเหลือและข้อตกลงทางการทหารที่สอดคล้องกับกฎหมายของสหรัฐ





ต้านรัฐประหาร กระบี่ ภูเก็ต พังงา เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา ระนอง สงขลา สตูล


http://en.wikipedia.org/wiki/2013%E2%80%9314_Thai_political_crisis

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น