Latest information

พิภพวานร


     หนัง"พิภพวานร" 

 พิภพวานร เป็นภาพยนตร์แนวนวนิยายวิทยาศาสตร์ และนำมาสร้างใหม่จากภาพยนตร์ในปี 1968 เรื่อง Planet of the Apes จากบทประพันธ์ของปิแอร์ บูเล กำกับโดยทิม เบอร์ตัน แสดงนำโดยมาร์ก วาห์ลเบิร์ก, ทิม ร็อธ, เฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์, ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน, พอล กลาแมตตี และเอสเตลลา วอร์เรน ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักบินอวกาศ ลีโอ เดวิดสัน ที่นำเครื่องมาลงจอดบนดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่ปกครองโดยบรรดาวานรที่เฉลียวฉลาดและมีความคล้ายมนุษย์ ส่วนมนุษย์ได้ตกเป็นทาสรับใช้ของเหล่าวานร แต่จากความช่วยเหลือของวานรหญิงที่ชื่อ อารี ทำให้ลีโอคิดจะก่อกบฏ






   


 วันที่ 21-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.รส.) เรียกประชุมผู้แทนรัฐบาล, วุฒิสภา, คณะกรรมการการเลือกตั้ง, พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาธิปัตย์, นปช. และ กปปส. ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อหาข้อสรุปในการก้าวผ่าน
วิกฤตการณ์ทางการเมือง แต่ไม่อาจหาข้อสรุปได้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และผู้บัญชาการเหล่าทัพ จึงประกาศกระทำรัฐประหารในที่ประชุม และควบคุมตัวผู้เข้าร่วมประชุม ยกเว้นตัวแทนวุฒิสภา และคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยนำตัวไปยังกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งใช้เป็นกองบัญชาการของ คสช. 
Planet of the Apes (1968 film)   


http://en.wikipedia.org/wiki/Planet_of_the_Apes_(1968_film)
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 ลงนามโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2557 ลงนามโดย 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังต่อไปนี้ 
Planet of the Apes (franchise) 
http://en.wikipedia.org/wiki/Planet_of_the_Apes_(franchise)  


http://en.wikipedia.org/wiki/Planet_of_the_Apes_(franchise)
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความ
สงบแห่งชาติ พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอกอุดมเดช สีตบุตร เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลโทชาตอุดม ติตถะสิริ รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16:30 น. โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมีประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ โค่นรัฐบาลรักษาการนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล 
นับเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย ก่อนหน้านี้ เกิดรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 รัฐประหารดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ และความเชื่อว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีอิทธิพลในการเมืองไทย ในวันที่ 20 พฤษภาคม ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก 
ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่เวลา 3.00 น. กองทัพบกตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) และให้ยกเลิกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) กอ.รส. ปิดสื่อ ตรวจพิจารณาเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต และจัดประชุมเพื่อหาทางออกวิกฤตการณ์การเมืองของประเทศ แต่การประชุมไม่เป็นผล จึงเป็นข้ออ้างรัฐประหารครั้งนี้ หลังรัฐประหาร มีประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 
สิ้นสุดลงยกเว้นหมวด 2 คณะรัฐมนตรีรักษาการหมดอำนาจ ตลอดจนให้ยุบวุฒิสภา ปัจจุบัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ และประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรี คสช. มีการจัดส่วนงานต่าง ๆ เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน และระบุว่าจะปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ไม่มีคำมั่นว่าประเทศจะหวนกลับสู่การปกครองโดยพลเรือนโดยเร็ว หลายประเทศประณามรัฐประหารครั้งนี้ รวมทั้งมีการกดดันต่าง ๆ เช่น ลดกิจกรรมทางทหารและลดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่คนไทยจำนวนหนึ่งแสดงความยินดี โดยมองว่าเป็น
ทางออกของวิกฤตการณ์การเมือง แต่ก็มีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่เป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง และตั้งรัฐบาลใหม่โดยมียิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาล นำโดย สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ภายหลัง สุเทพตั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตั้ง "สภาประชาชน" ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อดูแลการปฏิรูปการเมือง กลุ่มนิยมรัฐบาล รวมทั้ง แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) 
จัดชุมนุมเช่นกัน มีความรุนแรงเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ยิ่งลักษณ์ยุบสภาผู้แทนราษฎรและกำหนดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 การเลือกตั้งไม่เสร็จสมบูรณ์ในวันนั้นเพราะถูกผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลขัดขวาง ศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนการเลือกตั้งในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเป็นเอกฉันท์ให้ยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีที่มีมติย้ายข้าราชการระดับสูงซึ่งเป็นที่โต้เถียงใน พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีที่เหลืออยู่เลือกนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รักษาการนายกรัฐมนตรีแทนยิ่งลักษณ์ แต่การประท้วงยังดำเนินต่อ บนเฟซบุ๊ก มีการเว็บเปิดแฟนเพจชื่อ กองอำนวยการรักษาความสงบ
รียบร้อย ต่อมา หลังเกิดรัฐประหาร ก็ใช้แฟนเพจเดียวกันนี้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของ คสช. ผู้ประท้วง กปปส. จำนวนมากยินดีกับประกาศรัฐประหาร ณ ที่ชุมนุม พระพุทธะอิสระประกาศชัยชนะของผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลบนเวทีก่อนขอให้ผู้ติตดามสลายตัวและกลับบ้าน[192] ทหารยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อสลายผู้ประท้วงสนับสนุนรัฐบาล แม้ยังมีผู้ปฏิเสธไม่ยอมกลับในทีแรก ผู้ประท้วงกลุ่มสุดท้ายออกจากกรุงเทพมหานครในเย็นวันที่ 23 พฤษภาคม[194] ศสช. จัดรถทหารเจ็ดสิบคันเพื่อส่งผู้ประท้วงทั้งสองฝ่ายกลับภูมิลำเนา ทหารได้รับดอกไม้จากผู้สนับสนุนมีรายงานประชาชนสนใจถ่ายรูปกับทหารและยานพาหนะของทหาร ทั้งมีการนำดอกไม้ อาหารและเครื่องดื่มมามอบให้ทหารในหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสุโขทัย จังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 23 
พฤษภาคม หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ออกความเห็นว่า "เรามาถึงจุดนี้ได้เพราะนักการเมืองของเราไม่สามารถระงับความขัดแย้งของพวกเขาได้ด้วยวิธีปกติ และทหารใช้ความล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าของพวกเขาเป็นข้ออ้างลงมือ ตั้งแต่กำหนดกฎอัยการศึกและรัฐประหารในที่สุด ทุกกลุ่มซึ่งเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองเรื้อรังนี้ควรรับผิดชอบต่อผลลัพธ์แห่งความดื้อรั้นของตน พวกเขาควรเสียสละประโยชน์ส่วนตนแก่ผลประโยชน์ของชาติ" นักวิชาการบางคนแย้งว่า ปัญหาของไทยไม่มีทางออกอื่นแล้ว มาร์ค วิลเลียมส์ แห่งบริษัทปรึกษาวิจัยเศรษฐกิจแคปิตอลอีโคโนมิกส์ กล่าวว่า "ตลาดหลักทรัพย์อาจต้อนรับรัฐประหาร" เพราะลดความไม่แน่นอนและความเป็นไปได้ของการเผชิญหน้าทางการเมืองซึ่งอาจทวีความรุนแรงขึ้นได้" แต่คาดว่าผลทางบวกจะเกิดขึ้นระยะสั้น ๆ วันที่ 25 พฤษภาคม พีระศักดิ์ พอจิต อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอุตรดิตถ์ ให้สัมภาษณ์ว่า คสช. ทำถูกแล้วที่ตัดสินใจยุบสภา เพราะจะทำให้ คสช. ดำเนินการล่าช้า การให้ คสช. กุมอำนาจทั้งหมดเป็นการดี เนื่องจากทำให้ คสช. ดำเนินการได้รวดเร็ว และเชื่อว่าเหตุการณ์หลังจากนี้น่าจะสงบขึ้นตามลำดับ วันเดียวกัน มีการจัดการชุมนุมต่อต้านผู้ประท้วงรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เรียกร้องให้ คสช. ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง วันที่ 26 พฤษภาคม กลุ่มข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศจัดการชุมนุมคล้ายกัน ด้านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีท่าทีผสมกัน แม้เขาโพสต์ลงเฟซบุ๊กขออภัยที่ไม่สามารถผลักดันแผนปฏิรูปประเทศและปกป้องประชาธิปไตยได้[204] และพร้อมร่วมคัดค้านรัฐประหาร หาก คสช. ไม่มีคำตอบชัดเจนว่าจะปฏิรูปอะไรและประชาชนจะมีส่วนร่วมอย่างไร และมีผู้รักประชาธิปไตยที่แท้จริงเสนอประชาธิปไตยที่ดีกว่า[205] แต่เขาก็โพสต์สนับสนุนให้ คสช. ใช้มาตรการเข้มข้นขึ้นเพื่อรับมือกับการต่อต้านรัฐประหาร หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานหลังกองทัพจ่ายเงินในโครงการรับจำนำข้าวว่า กองทัพไทยเริ่มเครื่องจักรโฆษณาชวนเชื่อ และได้รับการช่วยเหลือจากสื่อไทยที่ส่วนใหญ่ "ยอมรับใช้" นับแต่รัฐประหาร หนังสือพิมพ์บ้านเมือง พาดหัวข่าวว่า "ชาวนารับเงินยิ้มทั้งน้ำตา" รายงานอื่นแสดงชาวนาเดินขบวนไปยังฐานทัพเพื่อมอบดอกกุหลาบและถือป้ายประกาศความปิติต่อผู้นำรัฐประหาร การเดินขบวนของชาวนาในจังหวัดภูเก็ต ลพบุรีและอุบลราชธานียังมีป้ายเดียวกันด้วย ชาวนาคนหนึ่งในอำเภอเชียงยืนให้สัมภาษณ์ว่า "ชาวนาจริงไม่ออกมาทำอย่างนั้นหรอก ชาวนาจริงวุ่นวายทำงานเกินไป" ชาวกรุงเทพมหานครจำนวนมากยินดีกับรัฐประหารหลังความขัดแย้งทางการเมืองนานเจ็ดเดือน กลุ่มผู้สนับสนุนสถาบันมองว่า ทหารเป็นผู้พิทักษ์ความเป็นหนึ่งเดียวของชาติ ผู้ชุมนุมนิยมกองทัพกล่าวว่า พวกตนยินดีกับรัฐประหารหากหมายถึงการขจัดอิทธิพลของทักษิณ ก่อนหน้ารัฐประหาร การนำเสนอข่าวท้องถิ่นจำนวนมากพรรณนาว่าทหารเป็นวีรบุรุษมาสู้กับนักการเมืองและตำรวจที่เป็นผู้ร้ายที่กินเงินใต้โต๊ะ รัฐประหารครั้งนี้ยิ่งตอกย้ำความแตกแยกของประเทศ มีการตั้งกลุ่มสนับสนุนรัฐประหารอย่าง "สนับสนุน คสช."ฯ หรือ "สนับสนุนกองทัพไทย" ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนหนึ่งว่า ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารพยายามทำลายความน่าเชื่อถือของกองทัพ และอีกจำนวนหนึ่งปัดคำวิจารณ์ของต่างชาติ และว่า คนต่างชาติไม่เข้าใจวิกฤตการณ์ของไทย ไม่เข้าใจว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวงในประเทศไทยเลวร้ายเพียงใด นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า ประยุทธ์ควรเป็นนายกรัฐมนตรี ควรใช้อำนาจเด็ดขาด อย่าเป็นนักประชาธิปไตยเหมือนสุรยุทธ์ จุลานนท์ อย่าสนใจคำครหานินทาว่ามาจากรัฐประหาร หากทำดี แก้ปัญหาได้ ทำประเทศปรองดองได้ ทุกคนจะสรรเสริญ สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ตนไม่เคยสนับสนุนหรือส่งเสริมรัฐประหาร แต่ควรมองต่อไปว่าเมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นแล้วจะทำอย่างไรให้ประเทศก้าวต่อไปข้างหน้า ดีกว่ามาคิดว่ารัฐประหารนี้ควรหรือไม่ "โจทย์ใหญ่วันนี้คือเราจะทำอย่างไรให้รัฐประหารซึ่งมีทั้งคนชอบและไม่ชอบจะไม่สูญเปล่า" และกล่าวว่า ไม่มีทางที่รัฐประหารจะอยู่ค้ำฟ้า อีกไม่นานก็จะกลับสู่วิถีประชาธิปไตย เขายังเชื่อว่า หากรัฐบาลยอมลาออกจากตำแหน่งจะไม่เกิดรัฐประหาร วันที่ 15 มิถุนายน สวนดุสิตโพลเผยผลสำรวจความสุขที่ประชาชนได้รับจาก คสช. ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม ซึ่งถามความคิดเห็นของประชาชน 1,634 คนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 10 ถึง 14 มิถุนายน โดยอันดับแรก คือ การชุมนุมทางการเมืองยุติ ทำให้บ้านเมืองสงบสุข สันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ผู้ก่อตั้งนิตยสารการเงินธนาคาร เจ้าของนามปากกา ลม เปลี่ยนทิศ คอลัมน์ หมายเหตุประเทศไทย ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ว่ารัฐประหารของ คสช. ครั้งนี้ประสบความสำเร็จและ คสช. ได้รับความชื่นชมจากประชาชนและนักธุรกิจทุกภาคส่วนมากขึ้น ควรที่ผู้นำชาติตะวันตกจะมาศึกษา ประชาชนรู้สึกดีต่อผู้นำที่มาจากรัฐประหาร เพราะไม่อยู่ภายใต้รัฐบาลจากการเลือกตั้งซึ่งมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงและเรียกสินบนจากเอกชน รัฐประหารครั้งนี้เป็นการเรียกศรัทธาและความสุขให้คนไทย เขาหวังให้ประยุทธ์ปฏิรูปประเทศไทยด้วยระบบคุณธรรมและยุติธรรม อย่าปล่อยทิ้งไว้เหมือนรัฐประหารครั้งก่อน คัดค้าน[แก้]กลุ่มสื่อมวลชน และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ต่อต้านการคุกคามสื่อ โดยเรียกร้องให้กองทัพบก ยกเลิกประกาศกฎอัยการศึก และยกเลิกประกาศ กอ.รส.ฉบับที่ 3, 7, 8 และ 9 ซึ่งจำกัดสิทธิและเสรีภาพ ในการแสดงออกของสื่อมวลชน ชาวไทยต่อต้านรัฐประหารอย่างจำกัด แต่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เดินขบวนไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อแสดงความไม่พอใจรัฐประหาร นักวิชาการชาวไทยมีปฏิกิริยารุนแรงต่อรัฐประหาร โดยส่วนใหญ่แสดงความกังวลจริงจังต่อผลกระทบเชิงลบต่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของไทย[200] กลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เรียกตนว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ออกแถลงการณ์ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 โดยเน้นสิทธิของบุคคลในการคัดค้านรัฐบาลไม่ชอบด้วยกฎหมายและขอให้ทหารปล่อยตัวผู้ถูกจับทันที ในแถลงการณ์ สปป. กล่าวว่า "การปกครองที่ดีนั้นไม่ใช่การปกครองด้วยการใช้กำลังบังคับข่มเหงเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องทำให้ประชาชนยอมรับ ทำให้ประชาชนให้ความยินยอม เป็นผู้มีวาจาสัตย์ และเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนทุกฝ่าย หากคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นประชาชนเป็นศัตรูและมุ่งใช้กำลังข่มเหงเพียงอย่างเดียวเช่นนี้แล้ว ท่านก็จะต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างไม่รู้จบ และท่านก็จะปราบปรามประชาชนไปนับไม่ถ้วน จนกระทั่งท่านก็จะไม่เหลือประชาชนให้ปกครองอีกเลย" นอกจากนี้ สมาชิก สปป. ยังชุมนุมกันหน้าอาคารโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันเดียวกัน เพื่อแสดงท่าทีต่อต้านรัฐประหาร นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนยังออกแถลงการณ์ประณามรัฐประหารและเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติลาออก เวลา 14:45 น. เพชรรัตน์ วงศ์วิเศษ ชาวกรุงเทพมหานคร ได้บุกไปยังบริเวณทางเข้าหอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ พร้อมแขวนป้าย "ช่วยด้วย ฉันถูกปล้น" ซึ่งสื่อให้เห็นว่าเพชรรัตน์ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารในครั้งนี้ และรู้สึกไม่พอใจที่ถูกทหารปล้นประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งไม่พอใจที่คนไทยส่วนใหญ่เงียบเฉยกับสิ่งนี้ โดยสื่อต่างชาติให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แต่ในเวลาไม่นาน เพชรรัตน์ก็เดินทางกลับ และเวลา 16:55 น. มีกลุ่มประชาชนผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารเริ่มตั้งกลุ่มชุมนุมบริเวณด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แยกปทุมวัน เวลา 18:00 น. ประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ได้ออกมารวมตัวกัน ณ ประตูช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อต่อต้านการแทรกแทรงทางการเมืองของกองทัพ ตลอดจนการประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม และรัฐประหาร และเริ่มเคลื่อนขบวนออกจากประตูช้างเผือกไปตามถนนมณีนพรัตน์ฝั่งคูเมืองเชียงใหม่ด้านนอก มุ่งไปทางแจ่งศรีภูมิทางทิศตะวันออกของคูเมืองเมื่อเวลา 19.00 น. เวลา 19:47 น. กลุ่มประชาคมจุฬาลงกรณ์เพื่อประชาชน ออกแถลงการณ์คัดค้านการทำรัฐประหารของ คสช. โดยขอให้ คสช. ประกาศยุบตัวเอง และให้คณะรัฐมนตรีรักษาการมาดำเนินการจัดการเลือกตั้งในทันที เพื่อเป็นการยืนยันว่า อำนาจทางอธิปไตยยังคงเป็นของประชาชน กลุ่มผู้ประท้วงที่ลานหน้าห้างเทอร์มินัล 21 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557ในวันที่ 24 พฤษภาคม มีกลุ่มบุคคลจัดการประท้วงต่อต้านรัฐประหารหน้าโรงภาพยนตร์เมเจอร์รัชโยธินในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีทหารพร้อมโล่ปราบจลาจลประจำอยู่ ผู้ประท้วงอีกกลุ่มหนึ่งตั้งใจเดินบวนมายังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิแต่ถูกทหารสกัด วันเดียวกัน คสช. เรียกนักวิชาการนิยมประชาธิปไตย แต่ผู้ถูกเรียกตัวกล่าวว่าจะไม่ยอมมอบตัวกับทหาร แม้ คสช. ขู่ว่าผู้ที่ไม่มารายงานตัวจะได้รับโทษอาญา ในจังหวัดขอนแก่น นักศึกษาจัดพิธีลาประชาธิปไตยหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ทหารประจำอยู่ ในจังหวัดมหาสารคาม นักศึกษาจัดประท้วงต่อต้านรัฐประหารกลางนคร แต่ทหารมายึดอุปกรณ์ประท้วง รวมทั้งป้ายผ้า วันที่ 25 พฤษภาคม มีผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารชุมนุมหน้าร้านอาหารแมคโดนัลด์ที่แยกราชประสงค์ ใจกลางกรุงเทพมหานคร แต่ทหารเข้ามายึดพื้นที่ ผู้ประท้วงอีกกลุ่มหนึ่งพยายามเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปยังแยกปทุมวัน แต่ทหารสกัดไว้ นักวิชาการเรียกร้องให้สมาชิก คสช. แสดงทรัพย์สินต่อสาธารณะ ทว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) กล่าวว่า ไม่มีกฎหมายกำหนดเช่นนั้น มีนักกิจกรรมต่อต้านรัฐประหารจำนวนหนึ่งในจังหวัดเชียงรายถูกศาลทหารเชียงรายเรียกตัวและถูกกักขังโดยไม่มีข้อกล่าวหา วันที่ 1 มิถุนายน มีการนัดหมายชุมนุมต้านรัฐประหารโดยไม่แจ้งสถานที่ล่วงหน้า จึงมีการจัดเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ 38 กองร้อยประจำอยู่ตามสถานที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร หรือตามสถานที่ที่เคยมีการชุมนุม แต่วันนี้ไม่มีรายงานนัดชุมนุมในพื้นที่ซึ่งมีทหารและตำรวจประจำอยู่ ที่ลานหน้าห้างเทอร์มินัล 21 มีผู้ชุมนุมหลายสิบคนชูสัญลักษณ์สามนิ้วแบบภาพยนตร์เรื่องเกมล่าชีวิต ต่อมา เจ้าหน้าที่พยายามเข้าจับกุมและปิดห้างเทอร์มินัล 21 มีรายงานผู้ถูกจับกุม 4 คน สัญลักษณ์สามนิ้วเป็นตัวแทนของความเสมอภาค เสรีภาพและภราดรภาพ กองทัพประกาศว่าจะจับทุกคนที่ใช้สัญลักษณ์ดังกล่าว วันที่ 7 มิถุนายน หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงานว่า พรรคเพื่อไทยแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม สมาชิกกลุ่มหนึ่งกล่าวอย่างเปิดเผยว่าจะต่อสู้กับคณะรัฐประหาร กลุ่มที่สองเลือกไม่ต่อต้านและพยายามลดบทบาท ส่วนกลุ่มที่สามตัดสินใจรอดูสถานการณ์ มีรายงานว่าจักรภพ เพ็ญแข อดีตแกนนำ นปก. กำลังใช้กลวิธีจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร ไม่เห็นด้วยกับการตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น เพราะปฏิกิริยาต่อต้านรัฐประหาร และผลประโยชน์ทางการเมืองและธุรกิจของสกุลชินวัตร วันที่ 10 มิถุนายน ฉลาด วรฉัตร ฟ้อง คสช. ปลัดกระทรวง และเจ้ากรมพระธรรมนูญ รวม 28 คน ในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและความผิดฐานกบฎ จากการประกาศใช้กฎอัยการศึกและยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อปี พุทธศักราช 2106 พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์แห่งกรุงหงสาวดีของพม่า ได้กรีฑาทัพมาตีกรุงอโยธยาศรีรามเทพนคร โดยเดินทัพผ่านทางด่านแม่ละเมา แขวงเมืองตาก ทัพพม่ารามัญซึ่งมีรี้พลเหลือคณานับได้เข้ายึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนือของอาณาจักรสยาม อันได้แก่ กำแพงเพชร สุโขทัย และสวรรคโลก จนรุกมาถึงเมืองพระพิษณุโลกสองแคว อันเป็นราชธานีฝ่ายเหนือ ในครั้งนั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชา เจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลก ตัดสินพระทัยอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง ด้วยทรงน้อยพระทัยที่อโยธยาไม่ส่งทัพมาสนับสนุนและก็เพื่อยุติการสู้รบและการสูญเสีย จึงทรงยอมร่วมกระบวนทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา โดยต้องทรงยอมถวายพระองค์ดำหรือพระนเรศวร พระราชโอรสองค์โตต่อพระเจ้าหงสาวดีเพื่อเป็นองค์ประกัน ในเวลานั้นพระนเรศร มีพระชนมายุเพียง 9 ชันษา เมื่อทัพพม่ายกมาถึงกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระมหากษัตริย์ ผู้ครองกรุงศรีอยุธยาก็ทรงยอมเจรจาหย่าศึกกับพม่า เนื่องด้วยไม่อาจทนเห็นการสูญเสียของสมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร์ และยอมถวายช้างเผือก 4 เชือก และยังมอบสมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรสองค์ใหญ่ ไปเป็นองค์ประกันตามข้อเรียกร้อง และให้เดินทางไปพม่าพร้อมกับพระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรทรง เป็นที่รักใคร่ของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ประดุจพระราชบุตรร่วมสายสันตติวงศ์ ด้วยองค์ยุพราชอยุธยามีพระปรีชาสามารถด้านพิชัยยุทธ ทั้งยังองอาจกล้าหาญ สบพระทัยกษัตริย์พม่าซึ่งก็ทรงเป็นนักการทหาร นิยมผู้มีคุณสมบัติเป็นนักรบเยี่ยงพระองค์ พระเจ้าบุเรงนองทรงมีสายพระเนตรกว้างไกล แลเห็นว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ในอุษาคเน ย์ประเทศ จึงทรงคิดใคร่ปลูกฝังให้สมเด็จพระนเรศวรผูกพระทัยรักแผ่นดินหงสา เพื่อจะได้อาศัยพระองค์เป็นผู้สืบอำนาจอุปถัมภ์ค้ำชูราชอาณาจักรพุกาม ซึ่งพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นด้วยความยากลำบาก เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระเจ้าบุเรงนองนั้นหาได้วางพระทัยในพระราชโอรส คือ มังเอิน ( พระเจ้านันทบุเรง) และพระราชนัดดามังสามเกียดนัก ถึงแม้ทั้งสองพระองค์จะทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขโดยตรง ด้วยทรงเล็งเห็นว่าราชนิกุลทั้งสองพระองค์นั้นหาได้เป็นผู้ทรงคุณธรรม อันจะน้อมนำเป็นพื้นฐานให้เติบใหญ่เป็นบูรพกษัตริย์ ปกป้องครองแผ่นดินที่พระองค์ทรงสร้าง และทำนุบำรุงมาด้วยกำลังสติปัญญาและความรักใคร่หวงแหน เหตุทั้งนี้เป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงและราชโอรส มังสามเกียดขัดพระทัย ทั้งผูกจิตริษยาสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าหงสาวดี บุเรงนองกว่าราชนิกุลข้างพม่าทั้งหลายทั้งสิ้น พระเจ้าบุเรงนองโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่อง – พระรามัญผู้มากด้วยวิทยาคุณ และเจนจบ ในตำราพิชัยสงครามเป็นพระอาจารย์ถ่ายทอดศิลปะวิทยาการแก่สมเด็จพระนเรศวร นับแต่เริ่มเข้าประทับในหงสานคร ยังผลให้ยุพราชอยุธยาเชี่ยวชาญการยุทธ กลช้าง กลม้า กลศึก ทั้งข้างอยุธยาและข้างพม่ารามัญหาผู้เสมอเหมือนมิได้ ข้อได้เปรียบตามกล่าวเป็นเสมือนทุนทางปัญญา อันส่งผลให้สมเด็จพระนเรศวรสามารถกอบกู้เอกราช แก้ทางศึกจนมีชัยเหนือพม่ารามัญในภายภาคหน้า พุทธ ศักราช 2112 ปรากฏข่าวระบือไปถึงหงสาวดีว่า เมืองพิษณุโลกฝ่ายเหนือแลกรุงศรีอยุธยาราชธานีฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรสยาม ครั้งนั้น เกิดขัดแย้งปีนเกลียวกัน เหตุเนื่องมาจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าแผ่นดินอยุธยาเสด็จออกผนวช แลสถาปนาสมเด็จพระมหินทราธิราช พระราชโอรสองค์รองขึ้นเสวยราชสมบัติสืบแทน สมเด็จพระมหินทราธิราชทรงคลางแคลงพระทัยในความจงรักภักดีของสมเด็จพระมหาธรรมราชา แต่ครั้งสงครามช้างเผือกในปีพุทธศักราช 2106 ขณะที่เจ้าแผ่นดินพิษณุโลกก็หาได้ยำเกรงสมเด็จพระมหินทราธราชเฉกเช่นสมเด็จพระมหา จักรพรรดิ ผู้เป็นพระราชบิดา เมื่อเห็นการใดมิควรก็บังคับบัญชาให้สมเด็จพระมหินทราธิราช ปฏิบัติตามพระประสงค์จนเป็นที่ขุ่นเคืองพระราชหฤทัยกษัตริย์อยุธยาพระองค์ ใหม่ ถึงกับหันไปสมคบกับสมเด็จพระไชยเชษฐาธิ ราช พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ร่มขาวร่วมกันแต่งกลเข้าตีเมืองพิษณุโลก แต่กระทำการมิสำเร็จ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเห็น เชิงสบโอกาสก็ยกทัพใหญ่เข้าตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรร่วมโดยเสด็จมากับทัพหงสาวดี แต่หาได้ตามพระเจ้าบุเรงนองลงมาล้อมกรุงศรีอยุธยาไม่ ทรงประทับอยู่เพียงเมืองพิษณุโลก มีเพียงสมเด็จพระมหาธรรมราชาโดยเสด็จกษัตริย์หงสาลงมาล้อมกรุง ด้วยตั้งพระทัยจะเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จพระมหินทราธราชยอมสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าบุเรง นอง เพราะเล็งเห็นว่าอยุธยายากจะต่อรบเอาชัยทัพพม่ารามัญ ซึ่งมีกำลังไพร่พลเหนือกว่าได้ หากขัดขืนต่อรบจะได้ยากแก่สมณชีพราหมณ์อาณา ประชาราษฎร์ ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงลาผนวชมาบัญชาการรบด้วยพระองค์เอง แต่อยู่ได้มินานก็เสด็จสวรรคตเสียระหว่างศึก สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้า จึงได้ครองราชสมบัติสืบต่อ และได้ทำการยุทธรักษาพระนครจนสุดความสามารถ จนล่วงเลยถึงปลายคิมหันตฤดูพุทธศักราช 2112 พระเจ้าบุเรงนองก็หาตีกรุงศรีอยุธยาได้ไม่ จึงได้คิดกลศึกขึ้น โดยได้ส่งตัวพระยาจักรีข้าหลวงเดิมของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ที่ตามเสด็จพระราเมศวรไปหงสาวดี เมื่อคราสงครามช้างเผือก เข้าไปเป็นไส้ศึกในเมือง และได้ลอบเปิดพระตูพระนครให้ข้าศึกเข้าเมือง จึงทำให้กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ในปีพุทธศักราช 2112 มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 11 ค่ำ ข้าง สมเด็จพระนเรศวรซึ่งประทับอยู่ยั้งยังนครพิษณุโลกแต่ต้นศึก หาได้ทรงเห็นงามหรือคิด ครั่นคร้ามอ่อนน้อมต่อหงสาไม่ ถึงจะทรงรู้ซึ้งว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดามิได้คิดคดเป็นกบฏต่อแผ่น ดิน แต่ก็หาได้เห็นด้วยกับการอ่อนข้อสวามิภักดิ์พม่ารามัญ น้ำพระทัยอันมั่นคง เด็ดเดี่ยวนั้น ถึงแม้จะมิได้แพร่งพรายถึงพระเนตรพระกรรณพระเจ้าบุเรงนอง แต่ก็ประจักษ์อยู่ในหมู่ ข้าราชบริพารใกล้ชิดผู้รักและหวงแหนในเอกราชของแผ่นดิน จึงพากันนิยมในน้ำพระทัย แลพร้อมใจถวายความจงรักภักดีแต่นั้นมา ครั้นเสร็จศึกอยุธยาพุทธศักราช 2112 สมเด็จพระมหาธรรมราชา ทรงถวายพระสุพรรณกัลยา พระพี่นางสมเด็จพระนเรศวร แก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง แลขอแลกตัวสมเด็จพระนเรศวรมาไว้ช่วยราชการข้างอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรจึงประทับยั้งอยู่ยังเมืองพิษณุโลกสืบต่อมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น