กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ หรือ อีเอ็ม (Effective Microorganisms: EM) เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท EM Research Organization, Inc. สำนักงานใหญ่อยู่ที่โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น โดยทั่วไป อีเอ็มหมายถึงส่วนผสมของเหลวที่มีจุลชีพแบบไม่ใช้อากาศ (anaerobic organsims) อยู่อย่างน้อย 3 ชนิด
อีเอ็มเทคโนโลยี ใช้ส่วนผสมของจุลชีพที่เพาะจากห้องปฏิบัติการ ส่วนผสมหลักนั้นประกอบด้วย แบคทีเรียกรดแลกติก (Lactic acid bacteria), แบคทีเรียม่วง (purple bacteria) และ ยีสต์
ผู้ผลิตน้ำจุลินทรีย์แบบอีเอ็มหลายแห่งอ้างว่าจุลชีพเหล่านี้สามารถอยู่ร่วมกันได้และมีประโยชน์กับสภาพแวดล้อม จุลชีพเหล่านั้นได้แก่ Lactobacillus casei (แบคทีเรียกรดแลคติค), Rhodopseudomonas palustris (แบคทีเรียสังเคราะห์แสง), Saccharomyces cerevisiae (ยีสต์) และจุลชีพอื่นๆที่อยู่ในสภาพธรรมชาติของส่วนผสมอีเอ็ม
แนวคิดของจุลชีพที่เป็นมิตร มาจากศาสตราจารย์ เทรูโอะ ฮิกะ จากมหาวิทยาลัยริวกิว (University of the Ryukyus, โอกินาวา, ประเทศญี่ปุ่น) ในช่วงทศวรรษ 1980 ฮิกะได้รายงานถึงส่วนผสมที่ได้จากการจัดหมู่ของจุลชีพต่างๆ ที่มีความสามารถในการช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุโดยมีผลดีกับกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ฮิกะได้เสนอทฤษฎีหลักที่ใช้อธิบายผลของอีเอ็มไว้ว่า จุลชีพ 3 กลุ่มสามารถอยู่ร่วมกันได้โดย จุลชีพเชิงบวก (positive microorganisms) ทำหน้าที่สร้าง, จุลชีพเชิงลบ (negative microorganisms) ทำหน้าที่ย่อยสลาย, และจุลชีพฉวยโอกาส (opportunist microorganisms) ในตัวกลางชนิดต่างๆ (ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ อากาศ หรือ ลำไส้มนุษย์) อัตราส่วนของจุลชีพเชิงบวกต่อจุลชีพเชิงลบนั้นสำคัญมากเพราะว่าจุลชีพฉวยโอกาสจะทำตามแนวโน้มไม่ว่าจะเป็นการสร้างหรือย่อยสลาย ดังนั้นฮิกะเชื่อว่า เป็นไปได้ที่จะสร้างผลกระทบด้านดีได้โดยการเพิ่มจุลชีพเชิงบวกเข้าไป
หลักการของอีเอ็มที่ฮิกะยังเป็นที่ถกโต้แย้งกันอยู่ และยังไม่มีหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์สนับสนุน เรื่องนี้ฮิกะเองก็ยอมรับดังปรากฎในรายงานของเขา ในปี 1994 ที่ฮิกะเขียนร่วมกับนักจุลชีววิทยาธรณี เจมส์ เอฟ, พาร์ (James F. Parr) ที่สรุปว่า "ข้อจำกัดโดยหลัก...คือปัญหาในการทำซ้ำอีกครั้งโดยให้ได้ผลเหมือนเดิม"
พาร์กับฮิกะบอกว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำปฏิกิริยาของอีเอ็มกับจุลินทรีย์พื้นถิ่น คือ ค่า pH ของดิน, การโดนแสง, อุณหภูมิของดิน และการเกิดน้ำท่วม รวมถึงยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก แนวคิดเชิงหลักการที่ฮิกะกับพาร์เสนอขึ้นมาคือ การรักษาค่า pH และอุณหภูมิของดินให้อยู่ภายในขอบเขตเงื่อนไขซึ่งรู้กันว่าจะสร้างความเสียหายแก่จุลชีพเชิงลบ เช่นกันกับการเพิ่มอีเอ็มลงไปเพื่อรักษาสมดุลระหว่างจุลชีพเชิงบวกกับเชิงลบ เพื่อให้จุลชีพเชิงบวกอยู่ต่อไปได้
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ผู้คิดค้นหลักของเทคโนโลยีนี้ (ฮิกะกับพาร์) ได้ตัดจุลชีพที่เป็นประโยชน์ที่เพาะลงไป ซึ่งเป็นจุลชีพเดี่ยวเพียงตัวเดียวซึ่งไม่ได้ประสิทธิผลขึ้นกับความไม่แน่นอนของสภาวะเงื่อนไขที่จุลชีพเดี่ยวจะสามารถก่อประสิทธิผลขึ้นได้ พวกเขาระบุว่า การรับรู้ทางวิทยาศาสตร์ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ว่าจุลชีพหลายๆ ตัว (เช่นในกรณีของโบคาฉิ ซึ่งฮิกะเป็นผู้คิดค้นและทำการตลาดเอง) ร่วมกันกับการจัดการดินที่ดี จะส่งผลทางบวกต่อจุลชีพในดินและการเจริญเติบโตของพืชพรรณได้ ทั้งสองร้องขอให้มีการทำวิจัยเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาข้อมูลเกี่ยวกับจุลชีพในดินและปฏิกิริยาของพวกมัน
มีงานวิจัยต่อๆ มาอีกหลายชิ้นที่ได้ทดสอบทฤษฎีของฮิกะ เช่น งานของ ลวินี (Myint Lwini) และระนามุกคาราชชี (S. L. Ranamukhaarachchi) ที่ศึกษาการใช้การควบคุมทางชีวภาพกับโรคเหี่ยวเฉาจากแบคทีเรีย และแสดงให้เห็นว่า การใช้อีเอ็ม และ ปุ๋ยหมักอีเอ็ม (EM Bokashi) เป็นตัวควบคุมชีวภาพ 2 ตัวที่มีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนั้นยังมีงานอื่นๆอีก เช่น ยามาดะและซูที่ศึกษาการใช้อีเอ็มในการทำปุ๋ยอินทรีย์, ฮุย-เลียน-ซูที่ศึกษาอีเอ็มกับการสังเคราะห์แสงและผลผลิตของข้าวโพดหวาน เป็นต้น
อีเอ็มเทคโนโลยี นั้นถูกใช้ในกิจกรรมของการเกษตรและการดำเนินชีวิตตามแนวคิดหยั่งยืน และยังถูกอ้างถึง การช่วยให้สุขภาพของคนและสัตว์เลี้ยงดีขึ้น รวมถึงประโยชน์ในการจัดการกับของเสีย
An effective microorganism refers to any of the predominantly anaerobic organisms blended in commercial agricultural amendments, medicines, and nutritional supplements based on the trademarked product originally marketed as EM-1 Microbial Inoculant, aka Effective Microorganisms and EM Technology. These blends are reported to include:Lactic acid bacteria: Lactobacillus casei Photosynthetic bacteria: Rhodopseudomonas palustris Yeast: Saccharomyces cerevisiaeOthers: beneficial microorganisms that exist naturally in the environment may thrive in the mixture.EM Technology is purported to support sustainable practices in farming and to improve and support human health and hygiene, compost and waste management, disaster clean-up (the Southeast Asia tsunami of 2004, the Kobe earthquake, and Hurricane Katrina remediation projects). EM has been employed in many agricultural applications, but is also used in the production of several health products in South Africa and the USA. The concept of "friendly microorganisms" was developed by Professor Teruo Higa, from the University of the Ryukyus in Okinawa, Japan. He reported in the 1980s that a combination of approximately 80 different microorganisms is capable of positively influencing decomposing organic matter such that it reverts into a "life promoting" process. Higa invokes a "dominance principle" to explain the effects of his "Effective Microorganisms". He claims that three groups of microorganisms exist: "positive microorganisms" (regeneration), "negative microorganisms" (decomposition, degeneration), "opportunist microorganisms". In every medium (soil, water, air, the human intestine), the ratio of "positive" and "negative" microorganisms is critical, since the opportunist microorganisms follow the trend to regeneration or degeneration. Therefore, Higa believes that it is possible to positively influence the given media by supplementing with "positive" microorganisms. ЭМ технология Mikroorganizmy efektywne ریزاندامگان کارآ Microorganismos efectivos Microrganismi effettivi EM 공법 또는 유용미생물 공법 Effektive Mikroorganismen บริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น